วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

วันออกพรรษา


วันออกพรรษา 

วันออกพรรษา 2555 ประวัติวันออกพรรษา

 
วันออกพรรษา 2555 ประวัติวันออกพรรษา วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไร

วันออกพรรษา

 
วันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 
 
        วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ คือ เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในวันออกพรรษาในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนาที่ชั้นดาวดึงส์ 
     
     วันออกพรรษา หมายถึงวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด 3 เดือน  ในฤดูฝน กล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้อธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไป จนสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากวันออกพรรษาแล้วก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ 
 
     วันออกพรรษา เรียกว่าอย่างหนึ่งว่า “วันปวารณา” หรือ “วันมหาปวารณา” คือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรม คือเปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้ เมื่อได้เห็นได้ทั้งหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน
 
วันออกพรรษา วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก 
 
วันออกพรรษา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
หลังจากทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา
 

ความสำคัญของวันออกพรรษา

 
วันออกพรรษา เป็นวันสำคัญของพุทธศาสนา ด้วยเหตุผลดังนี้
 
      1. หลังจากวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาตให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้
 
      2. เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแผ่แก่ประชาชน
 
      3. ในวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือและความสามัคคีกัน
 
      4. พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าว ตักเตือนตนเองเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป
 

ประวัติความเป็นมาของวันออกพรรษา


     เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี มีพระภิกษุเหล่านั้นเกรงจะเกิดการขัดแย้งกันจนอยู่ไม่สุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกติกาว่าจะไม่พูดจากัน (มูควัตร)  เมื่อถึงวันออกพรรษาพระภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ แล้วทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า
 
     “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วปวารณากันในสามลักษณะ คือด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วยการสงสัยก็ดี”
 

การถือปฏิบัติวันออกพรรษาในประเทศไทย

    
     วันออกพรรษา เป็นวันปวารณาของพระสงฆ์โดยตรง ที่จะต้องประชุมกันทำปวารณากรรมแทนอุโบสถกรรม สำหรับพุทธศาสนิกชนฝ่ายคฤหัสถ์ ก็ถือว่าเป็นวันพระสำคัญ มักนิยมไปทำทานรักษาศีลและฟังธรรมเป็นกรณีพิเศษ
 
     นอกจากนี้ ยังมีประเพณีเนื่องด้วยวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “ประเพณีตักบาตรเทโว”
 
วันออกพรรษา 2554 
วันออกพรรษา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จลงสู่มนุษย์โลก
ทางบันไดพาดลงใกล้เมืองสังกัสสะ 
 
     คำว่า “ตักบาตรเทโว” มาจากคำเต็มว่า “ตักบาตรเทโวโรหณะ”  คือการตักบาตรเนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทบันทึกไว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงบยมกปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์เป็นคู่ๆ) ที่ต้นมะม่วงใกล้เมืองสาวัตถีแล้วก็เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่ 7 บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศนาพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาเป็นเวลา 3 เดือน ครั้นออกพรรษาแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จลงสู่มนุษย์โลกทางบันไดพาดลงใกล้เมืองสังกัสสะ
 

หลักธรรมที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา

 
      ในเทศกาลออกพรรษา มีหลักธรรมสำคัญที่ควรนำไปปฏิบัติ คือ ปวารณา (การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้ ในการปวารณานี้อาจแบ่งบุคคลออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
 
       1. ผู้ว่ากล่าวตักเตือน จะต้องเป็นผู้มีเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าวตักเตือน เรียกว่ามีเมตตาทางกาย ทางวาจา และทางใจ พร้อมมูล
 
       
2. ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือน ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือน ดีใจดังมีผู้มาบอกขุมทรัพย์ให้) 
การปวารณา จึงเป็นคุณธรรมสร้างความสมัครสมานสามัคคีและดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์ การปวารณา แม้จะเป็นสังฆกรรมของสงฆ์ ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมชาวบ้าน เช่น การปวารณากันระหว่างสมาชิกในครอบครัวในสถานศึกษา ในสถานที่ทำงาน พนักงานในห้างร้าน บริษัทและหน่วยงานราชการ เป็นต้น
 

 วัตถุประสงค์ของกิจกรรมวันออกพรรษา

 
     1. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษารวมทั้งหลักธรรม เรื่อง ปวารณาและแนวทางปฏิบัติ
 
     2. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีทักษะในการคิดและการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในวันออกพรรษา และสามารถเลือกสรรหลักธรรม คือปวารณา ไปใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนและสังคม
 
     3. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเกิดเจตคติที่ดีต่อวันออกพรรษา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคือ ปวารณา
 
     4. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธา ซาบซึ้งและตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา
 
      
5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนได้อย่างถูกต้อง

วันออกพรรษา หรือวันมหาปวารณา
 
วันมหาปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือน
เรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์
 
         เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสู่เมืองสังกัสสะนครนั้น พระองค์ทรงเนรมิตให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก สามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้ ซึ่งต่อมาเรียกกันว่าเป็น “วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก” 
วันออกพรรษา ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา”เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิต ปรารถนาดีต่อผู้ถูกตัวเตือน ทั้งกาย วาจา ใจ ส่วนผู้ถูกตักเตือนก็ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้กล่าวตักเตือน โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันโดยมีความหมายว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณากันในสามลักษณะคือ ด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี และด้วยการสงสัยก็ดี” 
ประเพณีของชาวพุทธที่นิยมกระทำในเทศกาลออกพรรษาคือ 
 
วันออกพรรษา-ตักบาตรเทโวโรหณะ
 
ประเพณีตักบาตรเป็นประเพณีที่ปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาล
 
     1. ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ โดยในหลายที่ยังทำเป็นข้าวต้มลูกโยน มาไว้สำหรับใส่บาตรการตักบาตรเทโวเริ่มมาตั้งแต่ตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชนจึงได้พร้อมใจกันนำภัตตาหารมาถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จนั้นมีจำนวนมาก บางพวกที่อยู่ห่างจึงไม่สามารถใส่อาหารลงในบาตรได้ จึงต้องทำข้าวให้เป็นก้อน แล้วโยนใส่บาตร จนกระทั่งเป็นประเพณีนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

     
     ตักบาตรเทโว หมายถึง วันทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันออกพรรษาตามความเชื่อของพระพุทธศาสนิกชนว่าเป็นวันที่เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดา
 
      
“เทโว” ย่อมาจากคำว่า “เทโวโรหนะ” ซึ่งแปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก หมายถึง เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิณาณ แล้วทรงเทศนาโปรดประชาชนในแคว้นต่างๆ ของอินเดียตอนเหนือ ตั้งแต่เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เมืองสาวัตถี ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นบิตุภูมิของพระองค์ทรงเทศนาโปรดพระประยูรญาติทั้งหลายถ้วนหน้า แล้วทรงปรารถนาจะสนองคุณพระมารดา ซึ่งหลังจากประสูติพระองค์ได้ 7 วัน ก็สิ้นพระชนม์ และได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ฉะนั้นในพรรษาที่ 7 หลังจากตรัสรู้พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่ง ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จึงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะ ประชาชน พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น บางวัดก็ทำในวันออกพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 บางวัดก็ทำในวันรุ่งขึ้น คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ทั้งนี้ แล้วแต่ความตกลงร่วมใจทั้งทางวัดและทางบ้าน 
พิธีทำนั้นทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนล้อเลื่อนไปช้าๆ นำหน้าพระสงฆ์ พระภิกษุสามเณรถือบาตรเดินตามไปโดยลำดับ พุทธศาสนิกชนต่างก็นำอาหารมาเรียงรายกันอยู่เป็นแถว ตามแนวทางที่รถบุษบกนั้นจะผ่านเพื่อตักบาตร ของที่นิยมใช้ตักบาตรเทโว ซึ่งนอกจากเป็นข้าวปลาอาหารทั่วๆ ไปแล้วยังมีข้าวต้มมัดใต้และข้าวต้มลูกโยนอีกด้วย
 
    การที่พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่เพียงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็เนื่องจากมีพระประสงค์จะให้พระพุทธมารดาได้บรรลุโลกุตรธรรมอันเป็นธรรมชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนาได้
 
      
2. ประเพณีทอดกฐิน ถือเป็นกาลทาน ที่เป็นประเพณีสำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง โดยมีระยะเวลา 1 เดือน หลังจากวันออกพรรษาคือวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ไปจนถึงกลางเดือน 12 
 
 
ทอดกฐินหลังวันออกพรรษา
 
ประเพณีทอดกฐินมีระยะเวลา 1 เดือน หลังจากวันออกพรรษา
 
      นอกจากประเพณีที่ถือปฏิบัติในวันออกพรรษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่เป็นที่นิยมและมีผู้สนใจไปร่วมกิจกรรมกันอย่างคับคั่ง คือ การชมบั้งไฟพญานาคซึ่งเกิดขึ้นเพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้นคือวันออกพรรษา ซึ่งจะมีพุทธศาสนิกชนไปรอชมบั้งไฟกันทั้งสองฝั่งของแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะอำเภอโพนพิสัยที่มีปริมาณบั้งไฟขึ้นเยอะกว่าที่อื่นๆ

การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันออกพรรษา 

กิจกรรมเกี่ยวกับครอบครัวในวันออกพรรษา

 
      1. ในวันออกพรรษา แต่ละครอบครัวก็ช่วย ทำความสะอาดบ้าน  ประดับธงชาติและธงธรรมจักร จัดแต่งที่บูชาประจำบ้าน
 
      2. ศึกษาเอกสารและสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม การปวารณาและแนวทางปฏิบัติในครอบครัว
 
      3.สมาชิกในครอบครัว ปรึกษา หารือ หาแนวทางในการป้องกันการแก้ปัญหา โดยใช้หลักธรรม คือ ปวารณา
 
     4. วันออกพรรษา นำครอบครัวไปบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน
 
     5. ปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ไหว้พระสวดมนต์ ฟังธรรมเจริญภาวนา ในกรณีที่เป็นวันหยุดเนื่องในวันออกพรรษา

กิจกรรมเกี่ยวกับสถานศึกษาในวันออกพรรษา

 
      1.ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร จัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา
 
      2.ครูและนักเรียนร่วมกันศึกษาถึงความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม เรื่องปวารณาและแนวทางปฏิบัติในสถานศึกษา
 
      3. ครูให้นักเรียนจัดทำป้ายนิเทศ หรือจัดนิทรรศการ ประกวดเรียงความ ทำสมุดภาพ ตอบปัญหาธรรม บรรยายธรรม อภิปรายธรรม
 
      4. ครูให้นักเรียนจัดทำรายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ดีกับพฤติกรรมที่ไม่ดี และวางแผนพัฒนาพฤติกรรมไม่ดีให้น้อยลง
 
     5. ประกาศเกียรติคุณนักเรียนที่ประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี
 
      6.ครูพานักเรียนไปร่วมกิจกรรมกับชุมชนที่วัด บำเพ็ญกุศลทำบุญตักบาตร บริจาคทาน รักษาศีล ฟังธรรม สนทนาธรรม เจริญภาวนา ในกรณีที่เป็นวันหยุด และกิจกรรมอื่นที่เหมาะสม
 
ปักธงธรรมจักร วันออกพรรษา 
ปักธงธรรมจักรหน้าบ้านหรือสถานที่ราชการในวันออกพรรษา 

กิจกรรมเกี่ยวกับสถานที่ทำงานในวันออกพรรษา

 
     1. ทำความสะอาดบริเวณที่ทำงาน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร จัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา
 
     2. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรมเรื่อง ปวารณาและแนวทางปฏิบัติในสถานที่ทำงาน
 
     3.จัดให้มีการบรรยายธรรมและสนทนาธรรม
 
     4. ร่วมกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ปลูกต้นไม้ บริจาคโลหิต
 
     5. หัวหน้าหน่วยงานให้โอกาสผู้ร่วมงานไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณีนิยม ในกรณีที่เป็นวันหยุด
 
     6.จัดทำป้ายนิเทศเกี่ยวกับอุดมการณ์ในการทำงานโดยมีเป้าหมายจะละเว้นการกระทำชั่วในเรื่องใดๆ และกิจกรรมอื่นที่เหมาะสม
  

กิจกรรมเกี่ยวกับสังคมในวันออกพรรษา

 
      1. วัด สมาคม มูลนิธิ หน่วยงาน องค์กร สื่อมวลชน ประชาสัมพันธ์เรื่องวันออกพรรษาโดยใช้สื่อทุกรูปแบบ
 
      2. จัดพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษารวมทั้งหลักธรรมเรื่อง ปวารณา และแนวทางปฏิบัติเพื่อเผยแผ่ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น และตามสถานที่ชุมชน เช่น สนามบิน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง โรงธรรม ศูนย์การค้า รวมทั้งบนยานพาหนะต่างๆ
 
      3. เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรม ปฏิบัติธรรม และพิธีกรรมศาสนา เช่น  ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม รักษาศีล สวดมนต์
 
      4. รณรงค์ทางสื่อมวลชนต่างๆ ให้ลด ละ เลิก อบายมุข และให้งดจำหน่ายสิ่งเสพติดทุกชนิด
 
      5. ประกาศเกียรติคุณสถาบันหรือบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม
 
      6. รณรงค์ให้มีการรักษาสภาพแวดล้อม ปลูกต้นไม้ ทำความสะอาดที่สาธารณะ
 
     7. จัดประกวด สวดสรภัญญะ บรรยายธรรม คำขวัญ บทร้อยกรอง บทความเกี่ยวกับวันออกพรรษา และกิจกรรมอื่นที่เหมาะสม 
 

ประโยชน์จะได้รับจากวันออกพรรษา

 
      1. พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม เรื่องปวารณา และแนวทางปฏิบัติ
 
     2.พุทธศาสนิกชนเกิดเจตคติที่ดีต่อวันออกพรรษา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรม คือ ปวารณา
 
      3. พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธา ซาบซึ้ง และตระหนักในความสำคัญของพระพุทธศาสนา
 
      4. พุทธศาสนิกชนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีรู้จักปฏิบัติตนตามหน้าที่ชาวพุทธได้อย่างถูกต้อง  

หาดน้ำริน อ.บ้านฉาง จ. ระยอง

หาดน้ำรินหาดน้ำรินเป็นชายหาดเก่าแก่ที่อยู่ในตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวท้องถิ่น และในพื้นที่ใกล้เคียง ตามที่ได้ชื่อว่าหาดน้ำรินนั้น เนื่องจากแนวลาดชันของชายหาดตลอดแนวจะมีน้ำรินจากใต้ดินตลอดปี มีหาดทรายขาวละเอียดสลับแนวหินและโขดหินตามธรรมชาติ ดูสวยงามแปลกตา มีน้ำทะเลใสเป็นสีฟ้าเหมาะกับ การเล่นน้ำและพักผ่อน เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง ที่มีความสวยงาม ชายหาดน้ำรินมีลักษณะเป็นชายหาดทอดยาว ปลายหาดจะมีรูปปั้นปลาพยูนอยู่บนหิน มีศาลาสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือน
ได้พักผ่อน นอกจากนั้น ยังมีร้าน อาหารเปิด ให้บริหารอีกด้วย

  เมื่อนึกอยากไปเที่ยวทะเลคราใด ระยอง เป็นจังหวัดที่พลันนึกถึงเป็นอันดับต้น ๆ อาจเพราะอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลกรุงเทพฯ ที่สำคัญขึ้นชื่อว่า "ทะเล ระยอง" ชื่อนี้ไม่เคยทำให้ใครผิดหวัง เพราะมีทรายขาว น้ำสวย อาหารอร่อย ๆ กระจายอยู่ทั่วทั้งจังหวัด เรียกได้ว่า ทะเลระยอง ชื่อนี้การันตีการ ท่องเที่ยว 
           หาดน้ำริน ในอำเภอบ้านฉาง ก็เป็นอีกหนึ่ง สถานที่ท่องเที่ยว ที่ไม่เคยหลับ แม้ว่าจะไม่ได้คราคร่ำไปด้วย นักท่องเที่ยว เช่นสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดแห่งอื่น แต่ด้วยเสน่ห์ของความชนบทที่ยังมีให้เห็น แวดล้อมด้วยร้านอาหารซีฟู้ดรสแซ่บ ชวนให้น้ำลายไหล  เคล้าเสียงเกรียวคลื่น และหาดทรายขาว ๆ  ท่ามกลางบรรยากาศสงบ ๆ ไม่วุ่นวาย...แล้วอย่างนี้ นักท่องเที่ยว ตัวยงจะอดทนใจไม่ให้เก็บกระเป๋า หิ้วกล้อง ไปเยือน หาดน้ำริน สักครั้งได้อย่างไรกัน (จริงไหม)
 
           ทั้งนี้ หาดน้ำริน เป็นชายหาดเก่าแก่ที่อยู่ใน อำเภอบ้านฉาง  ระยอง เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวท้องถิ่น และในพื้นที่ใกล้เคียง หาดน้ำริน เป็นชายหาดสั้น ๆ ยาวประมาณ 845 เมตร ทั้งยังเป็นชายหาดที่เงียบสงบ เหมาะที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อน  หาดน้ำริน มีมุมสวยงามและสงบ มีโรงแรมมาตรฐาน  และบังกะโลให้เลือกพักผ่อนได้หลายแห่ง ตลอดจนมีร้านอาหารที่มีชื่อเสียงตามชายหาดอีกเพียบ 
           สำหรับที่มาของชื่อ หาดน้ำริน นั้นมีที่มาจากแนวลาดชันของชายหาดตลอดแนว ซึ่งจะมี น้ำริน จากใต้ดินตลอดปี มีหาดทรายขาวละเอียดสลับแนวหินและโขดหินตามธรรมชาติ ดูสวยงามแปลกตา มีน้ำทะเลใสเป็นสีฟ้า ปลายหาดจะมีรูปปั้นปลาพะยูนอยู่บนหิน ร่มรื่นด้วยต้นสนทะเล สามารถพักผ่อนและลงเล่นน้ำได้ มีสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งร้านค้า ร้านอาหาร ห้องอาบน้ำจืด 
และที่พักครบครันการเดินทาง ท่องเที่ยว หาดน้ำริน

            รถยนต์ส่วนตัว

           ใครที่สนใจจะไปสัมผัสมนต์เสน่ห์ทะเล ระยอง ที่ หาดน้ำริน สามารถเดินทางจากตัวอำเภอบ้านฉางได้ถึง 2 ทางด้วยกัน คือ เส้นทางแรกจากสี่แยก ไฟแดง ตลาดบ้านฉาง ไปตามถนนสายบ้านฉาง - พยูน จนถึงสี่แยกลงชายหาดพยูนก็แล้วซ้ายตรงไป ประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวลงไปยังชาย หาดน้ำริน ส่วนอีกเส้นทางหนึ่ง คือ เดินทางจากสี่แยกไฟแดง เนินกระปรอก ไปตามถนนเนินประปรอก – หาดน้ำริน
 
           อย่างไรก็ตาม หากเดินทางโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3 (สายสุขุมวิท) จากกรุงเทพฯ ก่อนจะถึง อ.บ้านฉาง จะมีสะพานข้ามไปตัวอำเภอบ้านฉาง ให้ชิดซ้ายไปกลับรถใต้สะพาน ด้านซ้ายมือ จะมีถนนเข้าสู่ชายหาด ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ตรงไป จะเป็นหาดพลา ถ้าเลี้ยวขวาจะเป็นหาดพยูน และ หาดน้ำริน ทั้ง 3 หาด มีความยาวรวมกันกว่า 5 กิโลเมตร

            รถโดยสารประจำทาง 
 
             จาก สถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) มีรถประจำทางไปยังตัวจังหวัดระยอง และอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดหลายเส้นทาง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2391-2504 สถานีเดินรถโดยสาร จังหวัดระยอง โทร. 0 3861 1379

             จาก สถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศชั้น 2 หมอชิต-ระยอง ออกทุก 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 04.30-16.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2936-2841

           เที่ยวเมืองไทย ไม่ไปไม่รู้...แล้วอย่าลืมแวะไปช้อป ชิม เที่ยวที่ หาดน้ำริน ทะเล ระยอง กันนะคะ
 
 

เรือหลวงจักรีนฤเบศ(เรือรบ)


สำหรับใครที่มาเที่ยวสัตหีบ หลังจากเล่นน้ำทะเลกันเต็มที่แล้ว ก็จะมาชมความยิ่งใหญ่ของเรือหลวงจักรีนฤเบศรกันต่อ ถ้ามาจากหาดนางรำเพียง 10 นาทีก็ถึง ท่าเรือน้ำลึกจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ บอกทหารที่ป้อมว่ามาชมเรือหลวงจักรีนฤเบศร ในยามปกติเรือหลวงสิมิลันจะจอดอยู่กับเรือหลวงจักรีนฤเบศร
สามารถขับรถเข้ามาที่ท่าเรือได้เลย มีที่จอดกว้างขวาง จอดรถเสร็จเดินไปอีกนิดเดียวก็เจอทางเข้าแล้ว
 
ข้อปฏิบัติการเยี่ยมชม ร.ล.จักรีนฤเบศร
1. ร.ล.จักรีนฤเบศร เปิดให้เยี่ยมชมระหว่างเวลา 09.00 น. – 17.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
2. เรือรบเป็นสถานที่ราชการ โปรดแต่งกายสุภาพ และงดสูบบุหรี่
3. ห้ามนำกระเป๋าสัมภาระ กระเป๋าหรืออาหาร เครื่องดื่ม สัตว์เลี้ยง และกล้องวีดีโอขึ้นบนเรือ
4. ห้ามพกอาวุธ และวัตถุอันตรายขึ้นบนเรือโดยเด็ดขาด
5. ชาวต่างประเทศไม่อนุญาตให้เยี่ยมชมเรือ (Foreign visitors require permission from Royal Thai Navy)
6. การเยี่ยมชมเรือให้ใช้เส้นทางเยี่ยมชม เฉพาะบริเวณที่กำหนดเท่านั้น และโปรดปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด
7. โปรดแสดงบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวข้าราชการกับเจ้าหน้าที่
8. บุคคลซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย และไม่สามารถปฏิบัติตามข้อปฏิบัติดังกล่าวได้ เจ้าหน้าที่จะไม่อนุญาตให้เยี่ยมชมเรือ
เมื่ออ่านข้อปฏิบัติแล้วก็เข้าชมกันเลย พอเดินพ้นรั้วเข้ามาก็จะเจอกับ ร.ล.จักรีนฤเบศร
มีคนมาเที่ยวชม พอสมควร เรือหมายเลข 871ทางซ้ายมือมีชื่อว่า ร.ล.สิมิลัน ตอนที่ไป ร.ล.สิมิลัน ไม่ได้ให้ขึ้นชม มีทหารเรืออยู่บน ร.ล.สิมิลัน หลายคนเลย
เข้ามาชมข้างในเรือ บนเรือนิ่งมากเหมือนอยู่บนบกเลย
บนเรือวิวสวยมาก น้ำทะเลสีฟ้า มองเห็นเกาะเต็มไปหมดเลย อดใจไม่ไหวต้องหยิบกล้องมาถ่ายรูป
เดินไปที่ดาดฟ้าของเรือเป็นจุดจอดเครื่องบิน
แดดแรงใช้ได้เลย
ดาดฟ้าของเรือเป็นจุดชมวิวที่มองเห็นได้โดยรอบ 180 องศา
รูปสุดท้ายก่อนกลับ ร.ล.สิมิลัน
ประวัติความเป็นมา
เมื่อครั้งเกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ในอ่าวไทยบริเวณ จังหวัดชุมพรในปี พ.ศ.2532 กองทัพเรือ ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการหลักในการค้นหา และช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ได้ใช้เรือและอากาศยาน ในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ ประสบภัย ซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ฐานขุดเจาะก๊าซธรรมชาติกลางอ่าวไทยและชาวประมงแต่มีขีดจำกัดในการปฏิบัติการ อันเนื่องจากเรือขนาดใหญ่ที่สุดที่กองทัพเรือมีอยู่ขณะนั้น ไม่สามารถทนสภาพทะเลเมื่อครั้งพายุไต้ฝุ่นเกย์ได้ ทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยกระทำได้ด้วยความยากลำบากและไม่ได้ผลตามที่กองทัพเรือต้องการ ประกอบกับภารกิจของกองทัพเรือในการปกป้องอธิปไตยและรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทางทะเล ซึ่งในปัจจุบันเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย ได้ขยายออกไปถึง 200 ไมล์ทะเล
การมีเรือขนาดใหญ่พร้อมอุปกรณ์ทันสมัยจะสามารถใช้ในการค้นหา และให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์ ตลอดจนการมีเฮลิคอปเตอร์ประจำการบนเรือจะช่วยขยายพื้นที่ในการลาดตระเวน และระยะเวลาในการปฏิบัติการในทะเลได้เป็นเวลานานและมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
กองทัพเรือจึงได้มีแนวความคิด ในการสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจตามความมุ่งหมาย และได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ ในการจัดหาเรือและการปฏิบัติภารกิจของเรือ จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 17 มีนาคม 2535 อนุมัติให้กองทัพเรือว่าจ้างสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล จำนวน 1 ลำ จากบริษัทบาซาน ประเทศสเปน ในวงเงินประมาณ 7,100 ล้านบาท และกองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างสร้างเรือเมื่อ 27 มีนาคม 2535
ภายในเรือจักรีนฤเบศรประกอบด้วยห้องต่างๆ ทั้งส่วนที่ใช้ปฏิบัติงาน และห้องพัก รวมกว่า 600 ห้อง โดยมีส่วนหลักๆ ดังนี้
  • สะพานเดินเรือ เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานของเรือ
  • หอบังคับการบิน
  • ห้องควบคุมการจราจรทางอากาศ
  • ห้องอุตุนิยมวิทยา
  • ห้องควบคุมดาดฟ้าบิน
  • ห้องบรรยายสรุปการบิน
  • ห้องศูนย์ยุทธการ
  • ห้องครัว
  • โรงพยาบาล ขนาด 15 เตียง มีส่วนสำคัญคือห้องผ่าตัด ทันตกรรม และเอกซเรย์
การเข้าเยี่ยมชม
บุคคลทั่วไปสามารถติดต่อขอเยี่ยมชมเรือหลวงจักรีนฤเบศรได้ โดยติดต่อแจ้งวันเวลา และจำนวนบุคคลในคณะที่จะมาเยี่ยมชม และส่งจดหมายไปถึงผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ กองเรือยุทธการ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 20180 (วงเล็บมุมซอง เยี่ยมชมเรือ) หรือโทรศัพท์ 080-5885077 / 038-439479 กองกิจการพลเรือน. กองยุทธการ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของเรือ)
แผนที่ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ

 



หาดนางรำ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี


หาดนางรำ เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวที่มีทะเลน้ำใสสีฟ้าคราม สวยงาม อยู่ในเขตทหาร ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ภายใน หาดนางรำ มีสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น สโมสรร้านอาหาร เครื่องดื่ม อาคารพักรับรอง ทั้งห้องปรับอากาศและธรรมดา ที่หาดมีเก้าอี้ผ้าใบ เสื่อ ให้เช่า สามารถเช่าเรือพายเล่นในทะเล หรือจะเล่นบานาน่าโบ๊ทก็มีให้บริการ
หาดนางรำ เปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน รถยนต์ เสียค่าบำรุงสถานที่คันละ 20 บาท รถตู้ 30 บาท รถบัส 50 บาท
หาดนางรำ มีความยาวชายฝั่งประมาณ 200 เมตร สุดปลายหาดคือแหลมนางรำมีรูปปั้นพระอภัยมณีและผีเสื้อสมุทรเลยจากแหลมนางรำไปก็จะเป็นหาดนางรองสามารถเดินไปได้ครับ หาดนางรองจะเงียบๆและมีความเป็นส่วนตัวมากกว่า
ที่มาของหาดนางรำ เดิมหาดนางรำเป็นหาดที่ไม่มีชื่อ จากตำนานของชาวบ้านเล่าว่าคำว่า นางรำเป็นชื่อเรียกเกาะที่อยู่ตรงข้ามหาดนางรำในปัจจุบัน เป็นเกาะที่ไม่มีคนอาศัย และไม่ค่อยมีคนไปเที่ยวนัก อยู่มาวันหนึ่งมีเสียงดนตรีมโหรีดังกึกก้องมาจากเกาะนี้ คล้ายเสียงดนตรีที่ใช้ในการร่ายรำ วันดีคืนดีก็มีเสียงดนตรีดังขึ้นจากเกาะนี้อีก ชาวบ้านจึงเรียกเกาะนี้ว่า เกาะนางรำ และหาดที่อยู่ตรงข้ามจึงเรียกหาดนางรำ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ภาพประกอบเพิ่มเติม
เรือคายัคให้เช่าชั่วโมงละ 80 บาท รวมเสื้อชูชีพ นั่งได้ไม่เกิน 3 คน เอาเข้าจริงๆพายไม่ถึงชั่วโมงหรอกเพราะมันเหนื่อยและร้อน
ช่วยกันพาย สามัคคีคือพลัง
อดใจไม่ไหวของลงทะเลดีกว่า
น้ำทะเลใสๆกับโขดหิน
ปิดท้ายด้วยโขดหินครับ
สิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณหาดนางรำ
  • สโมสรการท่าเรือสัตหีบ มีบริการอาหาร , เครื่องดื่ม เปิดเวลา 10.30-21.00 น
  • ร้านอาหารส้มตำ ไก่ย่าง ยำ อาหารทะเล ขนม เครื่องดื่มมีให้เลือกหลายร้าน
  • ร้านขายเสื้อผ้าเล่นน้ำทะเล ของที่ระลึก
  • ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำจืด
  • เช่าเสื่อ ราคา 10 บาท/ผืน
  • ห่วงยาง ราคา 20 บาท/ห่วง/2 ชั่วโมง
  • เตียงผ้าใบ ราคา 20 บาท/ตัว
  • โต๊ะวางของใหญ่ ราคา 20 บาท/ตัว
  • โต๊ะวางของเล็ก ราคา 10 บาท/ตัว
 
กิจกรรมทางน้ำ
  • บานาน่าโบ๊ท
  • พายเรือ ชั่วโมงละ 80 บาท, ครึ่งชั่วโมง 50 บาท นั่งได้ไม่เกิน 3 คน
 
อาคารพักรับรองหาดนางรำ ให้บริการห้องพัก
  • ห้องพัก แบบที่ 1 หมายเลขห้อง 106 108 110 202 204 206 208 210 เป็นห้องพัดลม เตียง 3 ฟุตคู่ ห้องน้ำรวม พักได้ 3 คน ราคาห้องละ 400 บาท
  • ห้องพักแบบที่ 2 หมายเลขห้อง 102 104 เป็นห้องแอร์ เตียง 3 ฟุตคู่ ห้องน้ำรวม พักได้ 3 คน ราคาห้องละ 450 บาท
  • ห้องพักแบบที่ 3 หมายเลขห้อง 103 107 109 201 203 205 207 209 เป็นห้องแอร์ เตียง 3 ฟุตคู่ ห้องน้ำ พักได้ 3 คน ราคาห้องละ 500 บาท
  • ห้องพักแบบที่ 4 หมายเลขห้อง 101 เป็นห้องแอร์ เตียง 3 ฟุตคู่ ห้องน้ำ พักได้ 3 คน ราคาห้องละ 600 บาท
  • ห้องพัก แบบที่ 5 หมายเลขห้อง 301 302 เป็นห้องแอร์ เตียง 5 ฟุต ห้องน้ำในตัว พักได้ 3 คน ราคาห้องละ 600 บาท
  • ห้องพัก แบบที่ 6 หมายเลขห้อง 303 304 เป็นห้องแอร์ เตียง 5 ฟุต ห้องน้ำในตัว พักได้ 3 คน ราคาห้องละ 600 บาท
  • ห้องพักแบบ ที่ 7 หมายเลขห้อง 305 ห้องแอร์ เตียง 5 ฟุต ห้องน้ำในตัว พักได้ 3 คน ราคาห้องละ 800 บาท
  • ห้องพักแบบ ที่ 8 ห้องพักแบบตู้คอนเทนเนอร์ 1-5 เป็นห้องแอร์ เตียง 5 ฟุต ห้องน้ำในตัว ทีวี พักได้ 3 คน ราคาห้องละ 800 บาท
  • ห้องพัก แบบที่ 9 วิมานหาด 1 ,2 และ 3 เป็นห้องแอร์ เตียง 5 ฟุต ห้องน้ำในตัว แอร์ ทีวี ตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น โซฟา ตู้เสื้อผ้า โต๊ะเครื่องแป้ง พักได้ 3 คน ราคาห้องละ 1,500 บาท
  • ห้องพัก แบบที่ 10 อาคารนอนรวมเป็นห้องแอร์ เตียง ที่นอน ห้องน้ำรวม พักได้ 26 คน ราคาห้องละ 2,800 บาท
  • ห้องพัก แบบที่ 11 เรือนจุกเสม็ด ห้องแอร์ ที่นอน ห้องน้ำรวม พักได้ 12 คน ราคาห้องละ 1,500 บาท
  • ห้องพักแบบ ที่ 12 บ้านริมหาด ห้องแอร์ ที่นอน ห้องน้ำรวม พักได้ 3 คน สามารถประกอบอาหารได้คน ราคาห้องละ 800 บาท
เวบไซต์ ที่พักหาดนางรำ www.sattahipport.com/inform_detail.php?km_id=192&cat_id=31
ติดต่อ, จองที่พักหาดนางรำ 085- 2855135 จนท.บ้านพักหาดนางรำ
การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว
  1. เส้นทางที่หนึ่ง ไปทางพัทยา จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์ (ทางหลวงหมายเลข 7) ยาวมาถึงชลบุรีจนสุดทางมอเตอร์เวย์ จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 36 (บางละมุง-ระยอง) เข้าสู่พัทยา จากเมืองพัทยาใช้ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงหมายเลข 3) ถนนสายนี้จะคู่ขนานกับหาดพัทยา ผ่านบ้านสุขาวดี ตลาดน้ำ 4 ภาค สวนนงนุช จนถึงสัตหีบ เมื่อถึงแยกสัตหีบเลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 3 อีกประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงแยกโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ให้เลี้ยวขวาแแล้วขับตรงไปจะเจอป้ายหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการอยู่ทางซ้ายมือให้เลี้ยวเข้าไปจะเจอหาดนางรำตรงไปจนสุดจะเจอหาดนางรอง
  2. เส้นทางที่สอง ใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์ (ทางหลวงหมายเลข 7) เมื่อสุดทางมอเตอร์เวย์ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 36 ไปทางเดียวกับระยอง แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวง 331เพื่อตัดมาสัตหีบ มุ่งสู่ฐานทัพเรือสัตหีบ ผ่านแยกโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ขับตรงไปตามทางมุ่งหน้าเข้าสู่กองเรือยุทธการทางซ้ายมือให้เลี้ยวเข้าไปจะเจอหาดนางรำตรงไปจนสุดจะเจอหาดนางรอง
ที่ตั้ง หาดนางรำอยู่ภายในท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
ติดต่อสอบถามที่ หาดนางรำ 085-2855135 หรือ 038-431350 ต่อ 73790  ในวัน - เวลา ราชการ
ข้อมูล.(บางส่วน) กองบัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ
รูปภาพ. www.folktravel.com
แผนที่. กองกิจการพลเรือน กองเรือป้องกันฝั่ง
เรื่องเล่าโดยสมาชิก
หาดนางรำ ทริปนี้เป็นทริปเพื่อนเก่าตั้งแต่สมัย ม. ปลาย ที่หอวัง นนทบุรี ผ่านมา 10 ปีแล้ว ไม่ได้ไปเที่ยวกันเลย เริ่มจากฟิชโช่ ที่ทุ่มทุนสร้างลางานมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ทริปนี้เราไปกัน 4 คน มี civic สีขาวของตั้ม เป็นยานพาหนะในทริปนี้ จุดหมายของทริปนี้คือหาดนางรำ สัตหีบ

วิธีรีดผ้าแบบง่าย

เคล็ดลับที่ทำให้การรีดผ้าง่ายขึ้น(Momypedia)
โดย: kant

           การรีดเสื้อผ้าอาจเป็นเรื่องยุ่งยากของคุณสาวๆ เนื่องจากเสื้อผ้าเดี๋ยวนี้มีเนื้อผ้าหลากหลาย อีกทั้งรูปแบบการตัดเย็บก็มากมายจนอาจทำให้คุณปวดหัว แต่ถ้าคุณทำตามเคล็ดลับ 5 อย่างในการรีดผ้าต่อไปนี้ งานรีดผ้าน่าปวดหัวก็จะง่ายดายขึ้น

 จัดการกับผ้าแห้งก่อน 

           การคลี่และสะบัดผ้า รวมทั้งจัดทรงของเสื้อผ้าให้เรียบร้อยก่อนตาก จะช่วยให้เกิดรอยยับน้อยลงเมื่อผ้าแห้ง และอย่าเก็บผ้าที่รอรีดกองรวมกันในตะกร้า เพราะจะยิ่งทำให้ผ้ายับย่นรีดยากและควรแยกเสื้อผ้าแขวนไว้บนไม้แขวนเสื้อจะ ป้องกันไม่ให้เกิดรอยยับมากขึ้น

 ฉีดน้ำเสมอ 

           เตารีดทุกวันนี้มักมีไอน้ำในตัวเพื่อทำให้เสื้อผ้าชื้นขณะรีด แต่ถ้าคุณไม่ได้ใช้เตารีดไอน้ำ ก็ซื้อกระบอกสเปรย์สำหรับฉีดน้ำมาใช้ และฉีดให้ผ้าชื้นเสมอก่อนรีด จะทำให้รอยย่นคลายตัวและผ้านุ่มขึ้น สามารถรีดผ้าได้ง่ายกว่า

 ระวังน้ำกระด้าง 

           ตามปกติน้ำประปาสามารถใช้กับเตารีดไอน้ำได้ แต่ถ้าคุณอยู่ในย่านน้ำที่ค่อนข้างกระด้าง ก็อาจทำให้เกิดคราบที่เตารีดได้ง่าย และอาจเป็นผลให้เตารีดเสียหายได้ ฉะนั้นหากไม่แน่ใจเรื่องคุณภาพน้ำ ให้ใช้น้ำกรองจะดีกว่า

 ใช้น้ำยาอัดกลีบให้ถูกต้อง 

           น้ำยารีดผ้าและอัดกลีบเป็นเครื่องมือในการรีดผ้าที่ยอดเยี่ยม แต่ต้องใช้อย่างเหมาะสม โดยฉีดผลิตภัณฑ์นี้ก่อนรีดผ้า แล้วปล่อยให้ซึมลงไปในเนื้อผ้าก่อนรีดทับ การปล่อยให้เนื้อผ้าดูดน้ำนาซักรีดลงไปจนหมดก่อน จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดคราบทั้งที่เตารีดและเสื้อผ้าของคุณด้วย

 รีดผ้าเนื้อบางก่อน 

           ถ้าคุณมีผ้ากองโตต้องรีด รีดผ้าเนื้อบางก่อน เช่น ผ้าไหม ผ้าใยสังเคราะห์ ผ้าพวกนี้ใช้ความร้อนต่ำในขณะรีด เมื่อรีดเสร็จแล้วค่อย ๆ เร่งความร้อนขึ้นเพื่อรีดผ้าเนื้อหนาและผ้าที่ต้องใช้ความร้อนสูงกว่าต่อไป วิธีนี้จะช่วยให้ประหยัดไฟและทำให้การรีดผ้าสะดวกขึ้น

การทำซูชิ ง่ายๆ


มาทำข้าวซูชิกันครับ

วิธีทำ ข้าวซูชิครับ
ข้าวซูชิ 4 ถ้วย
Japanese rice vinegar 1/3 ถ้วย (น้ำส้มสายชูญี่ปุ่น)
เกลือ 1 1/2 ชช.
น้ำตาลทรายป่น 1 1/2 ชต. (น้ำตาลทรายปกติให้เอาไปปั่นก่อนนะคะ จะได้ละลายง่ายขึ้นครับ)

วิธีทำ
1.ล้างข้าวด้วยน้ำสะอาด หุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าว
ก็เหมือนปกตินะครับ แต่ถ้าหุงข้าวด้วยหม้อ
ก็ให้แช่น้ำ 10 นาทีก่อนค่ะ แล้วตั้งหม้อให้เดือด
ซัก 2 นาที แล้วค่ะลดไฟลงมาต่ำ
หุงประมาณ 10-20 นาทีค่ะ
ใช้หุงแบบที่เราหุงข้าวปกตินะครับ

2.ช่วงที่หุงข้าวอยู่ให้ผสม น้ำส้มสายชู
เกลือ น้ำตาล ให้เข้ากัน

3.เมื่อข้าวสุกแล้ว ให้พักข้าวให้เย็น ซัก 10 นาที
ก่อนนะครับ ยกฝาหม้อออก แล้วใช้ คิทเช่นโรล
ปิดไว้แทนครับ ให้ตักข้าว ใส่อ่างไม้ หรือถ้วยใบใหญ่
เทน้ำส้มสายชูที่เราผสมแล้ว คนให้เข้ากัน
คนเบาๆๆนะครับ หลังจากนั้น ก็ใช้ผ้าขาวปิดไว้ครับ
ข้าวจะได้ไม่แห้ง

 


ใครอยู่อังกฤษ ซื้ออุปกรณ์ เครื่องปรุงได้ที่ Tesco, Waitrose ค่ะ ไม่แพงครับ


มาทำข้าวปั้นกันดีกว่าครับ



Hosomaki Sushi with Carrots and Cucumbers

ข้าวปั้นแครอทกับแตงกวาครับ

สูตรนี้ทำได้ 24 ชิ้นครับ

เครื่องปรุง
แครอท 1 หัวใหญ่
แตงกวา 1 หัว
สาเก หรือ น้ำส้มสายชูญี่ปุ่น 3 ชต. (Janpanese rice wine)
น้ำเปล่า 2 ชต.
น้ำตาลทรายป่น 1/2 ชช.
เกลือ 1/4 ชช.
แผ่นสาหร่าย 2 แผ่น
ข้าวซูชิ 2 2/3 ถ้วย (ทำตามวิธีทำด้านบนนะครับ)
วาซาบิ 1 ชช.

ทานกับ ซีอิ้วขาว วาซาบิ ขิงดอง

ใช้เวลาทำ 30 นาที

วิธีทำ

ปอกแครอท หันเป็นชิ้นบาง ยาว หนา1/2 ซม. และแตงกวาด้วยนะครับ

ตั้งหม้อ ใส่สาแก(น้ำส้มสายชูญี่ปุ่น) น้ำเปล่า 2 ชต.
น้ำตาล เกลือ ตั้งจนเดือด แล้วก็ใส่แครอทที่เราหั่นแล้ว
ปิดฝาไว้ 1 นาที แล้วก็ใส่แตงกวาลงไป จากนั้น
ก็ยกหม้อออกจากเตาครับ ตั้งให้เย็น และตักแครอท
แตงกวาออกจากหม้อ แล้วตักวางที่ คิทเช่นโรลนะครับ ซับให้แห้งครับ

ตัดแผ่นสาหร่ายครึ่งหนึ่ง วางบนแผ่นม้วนซูชิ
วางข้าวบนแผ่นสาหร่าย อย่าให้หนานะครับ จะม้วนยาก
แล้วทาวาซาบิลงไปตรงกลางของข้าว
และวางแครอท แตงกวา แล้ว ก็ม้วนจากด้านในตัวเรา
ออกไปนะครับ ไม่ยากเลยครับ ยกแผ่นไม้ไผ่ขึ้นนิดนึง
แล้วม้วนบีบเบาๆๆ ช่วงที่ม้วนก็ใช้มือบีบ ทั้งซ้าย
และขวาครับ แล้วก็ม้วน หมดเลยครับ

จากนั้นก็ใช้มีดที่คมกริบนะครับ มาหั่นข้าวปั้ครับ
ให้ทาน้ำส้มสายชูที่ เหลือจาก ต้มแครอทก็ได้นะครับ
จะได้หั่นง่ายขึ้น ข้าวไม่ติดมีดค่ะ(หรือผสมใส่ถ้วยไว้ก็ได้
ค่ะ เพราะเราจะทำข้าวปั้นอีกอย่างเวลาปั้นข้าวแล้ว
ข้าวจะไม่ติดมือครับ)

เสิร์ฟกับซีอิ้วขาว และวาซาบิค่ะ ลองทำดูนะคะไม่ยากครับ
 

อุปกรณ์ครับ














รูปวิธีทำจากเจ้าของต้นตำรับครับ

http://sushi-master.com/usa/index2.html